14 กุมภาพันธ์ “วันราชภัฏ” ครบรอบ 29 ปี พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ
14 กุมภาพันธ์ “วันราชภัฏ” ครบรอบ 29 ปี พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ
ความเป็นมา วันราชภัฏ
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ “วันราชภัฏ” เมื่อปี 2535 ในสมัยที่ ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้ขยายขอบเขตการจัดการศึกษา ซึ่งแต่เดิมมีลักษณะเป็นวิทยาลัยวิชาชีพเฉพาะทางให้สามารถจัดการศึกษาให้กว้างขวางขึ้น กรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (สรภ.)) จึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาของพระราชทานนาม วิทยาลัยครูใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยครูทุกแห่งว่า “สถาบันราชภัฏ”
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 นับเป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติสูงสุดแก่สถาบันราชภัฏ ต่อมาในวันที่ 6 มีนาคม 2538 ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม ” ราชภัฏ ” และตราประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร โดยนาม ” ราชภัฏ หมายความว่า เป็นคนของพระราชา”
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พิจารณาจากดวงตราพระราชลัญจักรประจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้รับพระราชทานมาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งมีรายละเอียดที่สมควร นำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้คือ
เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดสถาบัน
เป็นรูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน
สีของตราประจำมหาวิทยาลัย มี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รายชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏมีทั้งหมด 38 แห่ง ดังนี้
กลุ่มรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพมหานคร)
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (มร.พน.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มสน.)
กลุ่มภาคกลาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มรว.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (มรภ.อย.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (มรภท.)
กลุ่มตะวันตก (พจนก.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (มรภน.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (มรภ.กจ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (มร.มจ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (มรภ.พบ.)
กลุ่มภาคตะวันออก
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (มรร.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (มรภ.รพ.)
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (มรภ.ชย.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มรภ.นม.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มรภ.บร.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (มรภ.สร.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (มรภ.ศก.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (มรภ.อบ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรภ.มค.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (มรภ.รอ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (มรภ.ล.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (มรภ.อด.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (มรภ.สน.)
กลุ่มภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (มรภ.ชม.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มรภ.ชร.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (มรภ.ลป.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรภอ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (มรภ.พส.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (มรภ.กพ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (มรภ.พช.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (มรภ.นว.)
กลุ่มภาคใต้
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (มรภ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มร.นศ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สข.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.)
อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฎ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม – ได้ควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยนครพนม เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต – ได้แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลและเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2558
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ – ได้ควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558